Soundaware การกลับชาติมาเกิดของเสียง Anolog ในเครื่อง Digital ที่สมบูรณ์แบบกว่าเดิม
DAC รุ่นไหนดี ?
Soundaware การกลับชาติมาเกิดของเสียง Anolog ในเครื่อง Digital ที่สมบูรณ์แบบกว่าเก่า
DAC หรือ Digital Analog Converter เป็น Source ที่ช่วยให้ชีวิตการเล่นเพลงของเราในยุค Digital นั้นง่ายและสะดวกสบายเป็นอย่างมาก แต่ ก็เป็นอุปกรณ์นึงที่ทำให้นักเล่นเครื่องเสียง นักฟังเพลงปวดหัวไม่น้อยในการเลือกซื้อ DAC ดีๆมาใช้ฟังเพลงและเราเชื่อว่า แทบจะทุกคนที่จะซื้อ DAC มาฟังเพลงจะเกิดคำถามขึ้นมาในหัวแน่ๆว่า
DAC Streaming รุ่นไหนดี ?
ทาง Tombo Audio และทาง Studio ก็เกิดคำถามนี้เช่นกัน ในช่วงที่เราเฟ้นหา DAC มาวางขายให้นักเล่นและนักฟังเพลงทุกคนได้ใช้ DAC ที่เสียงดีและคุณภาพสูงสุด ด้วยประสบการณ์ การฟังเพลง และ system มายาวนานกว่า 40 ปี และ การลองผิดลองถูกอยู่กับการ Fine Tune system และชุดเสียงต่างๆกว่า 40 ปีของผู้ก่อตั้ง Tombo Audio และ Kstudio ถูกนำมาใช้ในการเลือกสินค้าเฟ้นหา DAC ทีผลิตจากทั่วโลกจนกระทั่งเราได้สัมผัสโสตประสาทหูของเราทั้งทีมกับเสียงของ Soundaware เป็นครั้งแรก ทั้งทีมต่างก็มีความรู้สึกและคิดเห็นตรงกันว่านี่คือ “ เสียงที่ทุกบ้านควรจะต้องมี “
จากการพูดคุยกับ Mr. Lin หนุ่มวันกลางคนผู้สร้าง Soundaware ชายที่ทำงานด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ แต่กลับสร้างเสียงที่ย้อนกลับไปถึงจุดกำเนิด Vinyl ให้กลับมามีตัวตนได้ในร่างเครื่องเล่น Digital ได้อย่างสมบูรณ์และน่าอัศจรรย์
Soundaware เสียงที่ฟังมาแต่เกิด
Mr. Lin เล่าให้เราฟังว่าคุณปู่เขาเปิดแผ่นเสียงให้ฟังทุกวันตั้งแต่สมัยยังเป็นเด็กจนกระทั่งเขาโตและย้ายไปเรียนที่อเมริกา ตัวเขาเองก็ยังคงติดการฟังเพลงจากแผ่นเสียงช่วงที่เรียนวิศวะคอมพิวเตอร์ที่อเมริกา ตัวเขาเองก็ทำโปรเจคกับกลุ่มเพื่อนๆเรื่อง Digital Data Signal จนคลอดงานทางด้านการรับส่งข้อมูลทาง Digital ที่สมบูรณ์แบบในฉบับของเขาและกลายมาเป็นอัลกอริทึ่มสำหรับการประมวลผลทางคอมพิวเตอร์ ซึ่งนั่นคือจุดกำเนิดของ FPGA ที่ถูกใส่เข้ามาในเครื่อง Soundaware ทุกรุ่น
หลักการทำงานของ FPGA ของ Soundaware นั้นตัว Chip ประมวลผลของเครื่องจะเช็ค Data ที่ Input เข้ามาในเครื่องก่อนเป็นอันดับแรกเสมอ แล้วทำการเทียบข้อมูลกับ Data Master ที่ทาง Soundaware ได้เขียนอัลกอริทึ่มเป็น Master Data ของเครื่องไว้ก่อนหากข้อมูลไม่มีการบกพร่องก็จะส่งไปยัง DAC เพื่อถอดรหัสและแปลงสัญญาณส่งไปยังภาคขยายที่เป็นแบบ Full Balance แต่หากข้อมูลที่ทาง FPGA เช็คแล้วมีการรับข้อมูลที่บกพร่องเช่นรับไฟล์คุณภาพต่ำอย่าง MP3 มา FPGA เทียบค่า Master Data ของเครื่องแล้วพบว่าข้อมูล Digital Signal นั้นมีความผิดพลาด มีการสูญเสียและบกพร่องของ File DATA ก็จะทำการซ่อมแซมข้อมูลให้ได้ใกล้เคียงกับ Master Data มากที่สุดแล้วจึงจะส่งต่อไปยัง DAC เพื่อทำการถอดรหัสแล้วแปลงสัญญาณออกมายังภาคขยายและส่งต่อมาเป็นเพลงให้เราได้ฟังกัน
ซึ่งการกระทำตรงนี้แม้แต่วงจร PCB บอร์ดของ Soundaware เองในแต่ละ layer ก็ได้มีการคิดค้นวิธีการลดสัญญาณรบกวนหรือ Noise ตั้งแต่ขั้นตอนนี้ด้วย ทำให้สัญญาณรบกวนในเครื่องหรือ Nosie มีค่าถึง 0.0005db แต่รายละเอียดของเพลงแม้กระทั่ง Micro Detail ยังคงอยู่ครบถ้วนสมบูรณ์
จากการฟังแผ่นเสียงตั้งแต่เกิดต่อยอดมาจนถึงขั้นตอนการทำอัลกอริทึ่ม Digital Data ทำให้เสียงของ Soundaware นั้นถอดคราบคาเรคเตอร์เสียงมาจากแผ่นเสียง การฟังเพลงผ่าน Soundaware Transporter นั้นแม้จะเป็นการเล่นเพลงจาก File Digital ที่รองรับการใช้งานทั้งการ Streaming และ File player แบบ Offline แต่เสียงยังคงครุกรุ่นเสมือนการฟังจากเครื่องเล่นแผ่นเสียงหรือ Vinyl System ด้วยเกรนเสียงที่ละเอียด และมีค่า PCM Distortion ที่ -170db ทำให้มีรอยต่อของย่านความถี่ที่เนียนละเอียดทุกย่านความถี่ประสานกันมาอย่างสมบูรณ์ที่สุด จึงได้ Dynamic ที่ดีที่สุด ทำให้เรารับรู้ได้ถึงบรรยากาศ แอมเบี้ยนต่างๆ ฮาร์โมนิคต่างๆจากเครื่อง Soundaware ทำให้ทางทีมงานมั่นใจและยืนยันได้ว่าเสียงของ DAC Soundaware Transporter นั้นแทบไม่ต่างจากการฟัง Vinyl System แต่ได้รับความสะดวกสบายตามยุคสมัย Digital Music Player